ใกล้ถึงคราวอวสานของ Dictionary แบบรูปเล่มแล้วหรือ

จั่วหัวมายังกับจะเป็นละครไทย ฮ่าๆ (ขณะที่พิมพ์อยู่ ละครเรื่อง วนิดา นำแสดงโดยพี่ติ๊กของสาวๆ และน้องแอฟของหนุ่มๆ กำลังฉายเต็ม TimeLine ใน twitter และ BBM ของผมเลย) ถ้าผมมาพูดถึงคงไม่ใช่แน่ครับ เพราะว่ามันไม่เกี่ยวกับ IT แต่ผมจะพูดถึงอีกสิ่งที่โดนหางเลขจาก internet ในวงการสิ่งพิมพ์ที่อยู่ใกล้ตัวกับเรามากๆ ในสมัยเรียน นั่นคือพจนานุกรม หรือ Dictionary นั่นเอง

เมื่อสัก 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทุกคนที่ผ่านช่วงการเรียนมาคงไม่มีใครไม่เคยใช้งาน dictionary แบบเปิดเล่ม ไม่ว่าจะเล่มใหญ่ เล่มเล็ก แปลไทยเป็นอังกฤษ หรือแปลอังกฤษเป็นไทย หรือภาษาอื่นๆ (ผมมีไทย-ฝรั่งเศสด้วย) และผมค่อนข้างเชื่อว่า dictionary ตามรูปนี้หรือหน้าตาประมาณนี้ แทบทุกท่านจะต้องเคยมีไว้กับตัว พกไปเรียน ติดกับโต๊ะอ่านหนังสือ (ปัจจุบันผมก็ยังติดไว้ที่หน้าโต๊ะคอมของผมเลย และทุกวันนี้ผมก็ยังใช้มันอยู่นะ) ถึงแม้ก่อนหน้าว่าจะมี electronic dictionary หรือที่เราติดปากติดหูจนกลายเป็นทับศัพท์ไปแล้วว่า Talking Dict ออกมาเป็นตัวเลือก ซึ่งราคาก็แพงพอกับซื้อ Dict. (ขออนุญาตย่อเพื่อความสะดวกนะครับ) ได้ประมาณ 50-70 เล่มเลย ในช่วงนั้นผมไม่มีความคิดที่จะซื้อมันเลย เนื่องจากติดการเปิดหาด้วยตัวเองซะมากกว่า ซึ่งบางครั้งผมหาได้เร็วกว่าคนที่ใช้ Talking Dict ซะด้วยซ้ำ…

ต่อมาความสะดวกสบายที่ได้จากคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต ช่วยก็ทำให้การแปลคำศัพท์ต่างๆ ,ศัพท์เทคนิคยากๆ หรือหาคำที่เกี่ยวกับศัพท์นั้น ทำได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นมากๆ อาทิเวปไซต์ช่วยแปลคำศัพท์ ที่ผมใช้บ่อยคือ เวป longdo http://dict.longdo.com/ หรือจะเป็นเวปผู้ผลิต dictionary ต่างประเทศที่มีชื่อเสียง เช่น Webster http://www.merriam-webster.com/ Longman http://www.ldoceonline.com/ และ Oxford http://oxforddictionaries.com โดยเฉพาะรายหลังสุด ที่ตอนนี้มีข่าวเกี่ยวกับ dictionary เข้าให้แล้ว ซึ่งเป็นที่มาของ blog นี้ครับ

ต่อไปเราคงจะเห็นคนหยิบยืม dictionary ผ่านทางหน้าจอ laptop หรือ iPad มากกว่าการยกหนังสือหนักๆ ให้กันอีกต่อไป เพราะตอนนี้ทางมหาวิทยาลัย Oxford ได้แจ้งบนเวปไซต์ว่า “ทางสำนักพิมพ์ฯไม่แน่ใจว่า version ถัดไปของ dictionary ที่มีอายุกว่า 126 ปี จะมีการผลิตออกมาเป็นรูปเล่มอีกต่อไปหรือไม่”

ปัจจุบันมีผู้เข้าใช้ Oxford English Dictionary version digital กว่า 2 ล้านครั้งต่อเดือน โดยผู้ใช้จะต้องเสียเงิน $295 (~9145 บาท) ต่อปี (เข้าใจว่าจะใช้ส่วนเพิ่มเติมได้อีกพอสมควร นอกจากการหาศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถทำได้ฟรีอยู่แล้ว) ซึ่งยอดขายนั้นตรงกันข้ามกับ dictionary แบบรูปเล่ม version ปัจจุบัน ตั้งราคาไว้ที่ $1165 (~36000 บาท) กลับขายได้เพียง 30,000 ชุดเท่านั้น

ทางสำนักพิมพ์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับความต้องการสินค้าบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สินค้าที่เป็นรูปเล่ม (dictionary) จะถูกนำกลับมาพิจารณาที่จะผลิตอีกครั้งอย่างแน่นอนหากพบว่ายังมีความต้องการอยู่”

Nigel Portwood CEO ของ Oxford University Press (OUP) ได้กล่าวว่า เค้ายังไม่มีแผนที่จะออก version ใหม่ในรูปแบบที่เป็นรูปเล่ม และแนวโน้มของตลาด dictionary รูปเล่มจะค่อยๆ จางหายไป เนื่องจากยอดขายจะตกไปเรื่อยๆ 10% ต่อปี

บทสรุป
หลังจากที่ผมอ่านข่าวนี้ผมก็อดใจหายไม่ได้ เพราะถ้าเกิดว่ามันจะไม่มีผลิตใหม่จริงๆ พฤติกรรมการเปิด dict ของผมคงไม่ได้ หยิบ-ค้น-เจอ อีกต่อไป แต่จะกลายเป็น พิมพ์-คลิก-รอ-ดู แต่ผมยังรักและชอบที่จะเปิด dictionary ด้วยมือของตัวเอง เสียงกระดาษเวลาเปิดมันไพเราะเสมอสำหรับผม ไม่ต่างกับการอ่านหนังสือทุกวันนี้ที่หนังสือที่เป็นรูปเล่มยังคงความ classic เสมอ (เว่อร์เกิน 555)

หากมองในแง่สิ่งพิมพ์ ผมลืมนึกไปเลยว่า dictionary จะมี impact จาก internet เรื่องนี้จริงๆ เพราะช่วงเวลานี้ มีแต่หนังสือและนิตยสารที่โดนโหมสู่ตลาดของ e-book, iBook, egazine จากการมาของเครื่องอ่านต่างๆ เช่น iPhone, iPad และ Amazon Kindle รวมไปถึง tablet ที่จะแห่ขบวนกันออกมาในปีสองปีนี้ ซึ่งทำให้หนังสือที่เป็นเล่มๆ จะขายได้น้อยลงเรื่อยๆ ถึงอย่างไรก็ดี การที่ Oxford เปิดตัวรา่ยแรกที่จะลดและถึงกับจะยกเลิกการผลิต น่าจะเป็นจุดที่ทำให้ค่าย dictionary ใหญ่ๆ อาจโดนบังคับให้ต้องเดินตามเส้นทางเดียวกันกับ Oxford ในการลดไลน์การผลิต dictionary แบบรูปเล่ม จนอาจเลยไปถึงการเลิกการผลิต แล้วหันมาทุ่มกับส่วนที่เป็น digital เพื่อตอบสนองผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ และที่สำคัญคือเพื่อความอยู่รอดของบริษัท

…พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเพราะ internet ตัวเดียวจริงๆ

ที่มา pocket-int.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.