ป้ายบิลบอร์ดพร้อมกับวิดีโอ Happy Birthday ศิลปินที่ชื่นชอบ หรือป้ายในสถานีรถไฟฟ้า เป็นสิ่งที่คุ้นตาสำหรับผม ในฐานะที่ตัวเองก็เป็นคนที่ติดตามวงไอดอลฝั่งหญิงมาประมาณนึงเหมือนกัน แต่ตอนนี้เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะมันมีแนวทาง(ใหม่)ที่ชาวแฟนคลับเลือกที่จะ Support ได้มากกว่าการแสดงความรักต่อศิลปิน เพราะมันสามารถช่วยให้คนเลี้ยงปากท้องได้
ร้านลูกชิ้น ร้านขายหมูปิ้ง ร้านข้าวไข่เจียว กลายเป็นจุด Touchpoint สำหรับการไปติดตั้งป้ายโปรเจควันเกิดศิลปินที่เขาชื่นชอบ
ถ้าเรามองวัตถุประสงค์ว่า eyeball หรือคนที่จะมาเห็นนั้นน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการไปติดป้ายหรือขึ้นบนบิลบอร์ด มันก็ใช่อยู่ แต่ถ้าเรามองในอีกหลายๆ มุม มันดีกว่ากันมาก
production cost ในการทำ อาจจะมากกว่านิดหน่อย ด้วยความที่ต้องทำหลายชิ้น แต่ถ้าเทียบเป็นค่า Media หรือค่าสถานที่แล้ว น้อยกว่าบิลบอร์ด หรือแม้กระทั่ง Lightbox หลายเท่ามาก
เงินรายได้ ซึ่งปกติแล้วบ้านต่างๆ จะต้องจ่ายให้กับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของสัมปทาน คราวนี้มาเข้ากระเป๋ากับเจ้าของร้านเลย อันนี้ไม่นับเรื่องต้องจ่ายให้วงการสีเทา ที่เขาว่ากันว่าไม่มีนะครับ
และทางอ้อมก็คือการที่แฟนคลับนั้นไปที่สถานที่นั้นเพื่อไปถ่ายรูปและยังได้อุดหนุนของขายหรือใช้บริการด้วยไปในตัว ทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ไม่มีตัวเลขแน่นอน แต่ความรู้สึกคือยอดขายน่าจะดีขึ้นไม่มากก็น้อย
กลับมามุมมองของการประชาสัมพันธ์ อย่างที่บอกไปว่า eyeball ตามเรตการ์ดของเจ้าของสื่ออาจจะดูมาก แต่พอมาเป็นแบบนี้ คนหรือกลุ่มแฟนคลับเขาไปที่ร้าน ไปถ่ายรูปและแชร์ขึ้นโซเชียลมีเดีย ช่วยกระจายให้คนรู้ว่ามีอะไรแบบนี้อยู่ ณ สถานที่นี้ มันยิ่งทำให้คนรับรู้และอยากไปดูด้วยตาตัวเองสักครั้งหากมีโอกาส
อาจจะนี่คือส่วนหนึ่งของการ “เอาคืน” นายทุนที่เป็นเจ้าของสื่อตามสถานีรถไฟฟ้า หรือ billboard ก็เป็นได้ เพราะมันมีกระแสการแบนไม่ลงโฆษณา โดยเฉพาะในสถานีรถไฟฟ้ากันมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เลือกที่จะลงสื่อที่แตกต่างออกไป ซึ่งผมอาจจะเรียกว่า มันเป็นสื่อที่ไทยมากๆ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการใช้สื่อในลักษณะคล้ายๆ กันแบบนี้ ผ่านๆ ตา มาบ้างแล้ว อย่างการ wrap รถเมล์, ป้ายหลังรถตุ๊กตุ๊กๆ, รถสองแถว, เรือ หรือแม้กระทั่งรถแห่ มันเป็นสิ่งที่หลายคนคุ้นตามากจนละเลย และก็เริ่มถูกหยิบมาเป็นที่ๆ จะเอามานำเสนอในยุคนี้
การเริ่มมีป้ายสนับสนุนศิลปินที่ร้านขายอาหารมากขึ้น มันคือทางเลือกที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับสื่อที่ต้องใช้เงิน 5 หรือ 6 หลัก หรืออาจจะถึง 7 หลักสำหรับบางสถานที่ มันชวนให้คนสนใจ ถ่ายรูปออกมาแล้วมัน “ชิค” และยังได้สนับสนุนการค้าขายในภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนต้องช่วยเหลือกันเองกันแบบนี้
การผมได้เห็นโพสต์ข้างบนแล้วรู้สึกว่า เอ้อ มันมีวิธีที่คนกลุ่มนี้เขาเลือกที่จะสนับสนุนมากกว่าสื่อดั้งเดิมหรือมาตรฐานที่เขาควรจะทำ ซึ่งไม่อยากจะบอกว่ามันคือการคิดนอกกรอบ แต่มันเป็นการคิดในมุมที่มองโลกกว้างขึ้นและการช่วยเหลือเกื้อกูลมนุษย์ด้วยกันถูกหยิบขึ้นมาคิดมากขึ้นด้วย
จบครับ
อ้อ ผมมีทำ podcast เรื่องนี้ไปเหมือนกันนะ ลองฟังกันดู